จัดตั้งองค์กรกำกับรถไฟความเร็วสูง

เพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินการ
และการบริหารจัดการ

ความสำคัญของโครงการ

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 ได้กำหนดให้กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ปัจจุบัน คือ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิจารณาแนวทางการจัดตั้งองค์กรพิเศษที่เป็นอิสระจากการกำกับกิจการของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อกำกับการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพ โดยให้มีโครงสร้างองค์กรที่มีความคล่องตัวและเหมาะสม สำหรับดำเนินกิจการระบบรถไฟความเร็วสูง รวมทั้งกำหนดมาตรการ หรือแนวทางในการสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณและบุคลากร เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในอนาคต

อ่านเพิ่มเติม

วัตถุประสงค์ของโครงการ

ขอบเขตการศึกษา ขอบเขตงานที่จะศึกษาในโครงการนี้ประกอบไปด้วยงานทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่ งานส่วนที่ 1: ศึกษาแนวทางการจัดตั้งองค์กรพิเศษและออกแบบโครงสร้างองค์กรพิเศษฯ ดังกล่าวเพื่อให้สามารถดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงได้ รวมทั้งนำเสนอรูปแบบการจัดตั้งองค์กรพิเศษฯ เพื่อให้สามารถรองรับการระดมทุน โดยไม่เป็นภาระผูกพันต่องบประมาณของรัฐในอนาคต ดำเนินการทบทวนนโยบาย แผนงาน มติ ครม.ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการศึกษาวิเคราะห์แนวทางการจัดตั้งและบริหารองค์กรบริหารรถไฟความเร็วสูงในต่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน เยอรมัน อังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี เป็นต้น โดยคัดเลือกเฉพาะองค์กรที่มีผลประกอบการ (Best Practice) เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบของโครงสร้างองค์กร และแนวคิดการบริหารงาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ศึกษาวิเคราะห์มาออกแบบโครงสร้างการบริหารงานให้เหมาะสมกับประเทศไทย และการเพื่อให้สามารถกำกับองค์กรที่ดำเนินงานด้านรถไฟความเร็วสูง และเพื่อดำเนินการบริหารโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยใช้ข้อมูลทั้งในเชิงแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัย รวมทั้งกรณีศึกษาจากต่างประเทศ และนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยอย่างเหมาะสม งานส่วนที่ 2: จัดทำแผนการจัดตั้งองค์กรพิเศษฯ และแผนการดำเนินธุรกิจขององค์กรเพื่อให้สามารถดำเนินกิจการรถไฟความเร็วสูง ดำเนินการนำแนวคิดและข้อสรุปจากงานส่วนที่ 1 มาศึกษาจัดทำแผนการดำเนินการในการจัดตั้งองค์กรพิเศษฯ และจัดทำเป็นรายละเอียดรูปแบบองค์กรพิเศษฯ แผนการดำเนินการจัดตั้ง พร้อมทั้งแนวทางการจัดตั้งองค์กรที่ประกอบด้วยรายละเอียดชัดเจนทั้งในด้านรูปแบบองค์กร โครงสร้างองค์กร โครงสร้างการบริหารจัดการ โครงสร้างบุคลากร […]

อ่านเพิ่มเติม

ขอบเขตการศึกษา

ขอบเขตงานที่จะศึกษาในโครงการนี้ประกอบไปด้วยงานทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่ งานส่วนที่ 1: ศึกษาแนวทางการจัดตั้งองค์กรพิเศษและออกแบบโครงสร้างองค์กรพิเศษฯ ดังกล่าวเพื่อให้สามารถดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงได้ รวมทั้งนำเสนอรูปแบบ การจัดตั้งองค์กรพิเศษฯ เพื่อให้สามารถรองรับการระดมทุน โดยไม่เป็นภาระผูกพันต่องบประมาณของรัฐในอนาคต ดำเนินการทบทวนนโยบาย แผนงาน มติ ครม.ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการศึกษาวิเคราะห์แนวทางการจัดตั้งและบริหารองค์กรบริหารรถไฟความเร็วสูงในต่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน เยอรมัน อังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี เป็นต้น โดยคัดเลือกเฉพาะองค์กรที่มีผลประกอบการ (Best Practice) เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบของโครงสร้างองค์กร และแนวคิดการบริหารงาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ศึกษาวิเคราะห์มาออกแบบโครงสร้างการบริหารงานให้เหมาะสมกับประเทศไทย และการเพื่อให้สามารถกำกับองค์กรที่ดำเนินงานด้านรถไฟความเร็วสูง และเพื่อดำเนินการบริหารโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยใช้ข้อมูลทั้งในเชิงแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัย รวมทั้งกรณีศึกษาจากต่างประเทศ และนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยอย่างเหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม

ผลที่จะได้รับจากโครงการ

1. ได้แนวทางการออกแบบองค์กรพิเศษในรูปแบบองค์กรที่เหมาะสมสำหรับการกำกับการดำเนินงานโครงการรถไฟความเร็วสูง ที่เหมาะสมกับประเทศไทย และมีแนวทางเลือกในการจัดตั้งองค์กรพิเศษฯ ที่มีความชัดเจนรวมทั้งปัจจัยต่าง ๆ ที่จะส่งผลต่อการจัดตั้งองค์กรพิเศษฯ โดยในเบื้องต้นนั้นมีเป้าหมายเป็นรูปแบบองค์กรพิเศษที่สามารถรองรับการระดมทุน โดยไม่เป็นภาระผูกพันต่องบประมาณของรัฐในอนาคต 2. รูปแบบองค์กรพิเศษฯ โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กรในระดับนโยบาย โครงสร้างบุคลากร และโครงสร้างเงินเดือน เป็นต้น รวมถึงเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องสำหรับการนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขออนุมัติและตัดสินใจดำเนินการต่อไป 3. ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ภาคส่วนต่าง ๆ ต่อรูปแบบและแนวทางการจัดตั้งองค์กรพิเศษฯ เกิดความร่วมมือและการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน นักลงทุนภาคเอกชนมีความสนใจในการเข้าร่วมดำเนินการ และร่วมลงทุนในองค์กรพิเศษฯ ที่จะได้จัดตั้งขึ้นมา 4. กระทรวงคมนาคมมีที่ปรึกษาเป็นหน่วยสนับสนุนงานด้านวิชาการและด้านธุรการเพื่อการขับเคลื่อน การจัดตั้งองค์กรพิเศษฯ ทำให้การดำเนินงานของกระทรวงมีความสะดวก ราบรื่น และสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จตามกำหนดการ

อ่านเพิ่มเติม

Scroll Up